อเล็กซ์ ริฟชิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารร่วมของสภาชาวยิวแห่งออสเตรเลียกล่าวกับ SBS Examines ว่า “คำว่า 'ไซออนิสม์ (Zionism)' แม้ในชุมชนชาวยิวเองก็ยังไม่เข้าใจตรงกันทั้งหมด"
เขาอธิบายว่า "ไซออนิสม์ คือความเชื่อหรือการสนับสนุนสิทธิของชาวยิวในการมีแผ่นดินเกิด เพื่อการกำหนดตนเองในฐานะประชาชนในบางส่วนของดินแดนบรรพบุรุษของพวกเขา"
แนวคิดของไซออนิสม์ ปรากฏขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และมีการพัฒนาในศตวรรษที่ 20 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการถูกข่มเหงของชาวยิวทั่วโลก ซึ่งแม้แต่การก่อตั้งรัฐอิสราเอลในปี 1948 ก็เป็นผลจากแนวคิดนี้
แม้ว่าจะมีการคัดค้านต่ออิสราเอลตลอดมา และนับตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา ความขัดแย้งอิสราเอล-ฮามาสได้กลับมาระอุขึ้นอีกครั้ง โดยรัฐบาลของอิสราเอลถูกกล่าวหาว่ากระทำละเมิดสิทธิมนุษยชนและอาชญากรรมสงคราม
"การวิจารณ์อิสราเอลและการกระทำของรัฐบาลของอิสราเอล ไม่ได้หมายความว่าเป็นการต่อต้านชาวยิวเสมอไป" ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดวิด สลูกี (David Slucki) ผู้อำนวยการศูนย์วัฒนธรรมยิวออสเตรเลียกล่าวกับเรา และยังเสริมอีกว่าหลายครั้ง การต่อต้านชาวยิวก็แฝงมาในรูปแบบของการต่อต้านอิสราเอล
"คำถามว่าคุณจะเลือกข้างไหน เลือกทางไซออนิสม์หรือฝั่งตรงข้าม มันช่างเป็นคำถามที่จำกัดแค่ว่าคุณสนับสนุนอิสราเอลแบบไม่มีเงื่อนไขใด ๆ เลยไหม? คือผมคิดว่าประเด็นนี้ที่เราถกกันอยู่มันไม่ได้มีแค่สองขั้วให้เราต้องเลือกข้างเพราะการจะทำให้มันชัดเจนขนาดนั้นมันไม่ได้ช่วยอะไร นอกไปจากการไปตีตรากันว่าดีหรือชั่ว เป็นเพื่อนหรือเป็นศัตรู มากกว่ามาช่วยกันคิดว่าจะทำให้เรื่องนี้ดีขึ้นได้อย่างไร?
SBS Examines บทนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอไอเดียที่แตกต่าง ซึ่งมีต่อแนวคิดไซออนิสม์ (Zionism) และมุมมองในสังคมต่อประเด็นความขัดแย้งในอิสราเอลและการต่อต้านชาวยิว