ส่องระบบ SMS เตือนภัยของออสเตรเลีย ประเทศที่เผชิญภัยพิบัตบ่อยครั้ง

แรงสะเทือนของแผ่นดินไหวที่มีใจกลางในมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมาครั้งนี้ ไม่เพียงจะสร้างความเสียหายให้ชีวิต และบ้านเรือน ทว่าจะคงเขย่าขาผู้มีอำนาจในบ้านเมืองให้ตื่นจากภวังค์ว่าเราจะเร่งให้ประเทศไทยมีระบบเตือนภัยที่ดีทัดเทียมนานาชาติได้หรือยัง

Indonesian earthquake and tsunami alert system

(AFP/Getty)

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมียนมาที่สะเทือนไกลถึงกรุงเทพฯประเทศไทย และหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ซึ่งคร่าชีวิต และสร้างความเสียหายให้อาคาร บ้านเรือน รวมถึงตึก สตง.ที่พังถล่มลงมา

แรงสะเทือนครั้งนี้ยังนำมาสู่ประเด็นข้อถกเถียงสุดร้อนแรงอีกครั้งว่า ทำไมไทยยังไม่มีSMS เตือนภัยเหมือนประเทศอื่นสักที

ความคืบหน้าของระบบเตือนภัยของไทย

นายกรัฐมนตรีแพทองธาร ชินวัตร แถลงแนวทางปรับปรุงระบบแจ้งเตือนภัย
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2568 เวลา 15.05 น. ณ บริเวณทางเชื่อมตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย ได้แถลงข่าวภายหลังการประชุมติดตามและแก้ไขปัญหาการแจ้งเตือนภัยผ่าน SMS โดยมีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ได้แก่ AIS, TRUE และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT เพื่อถอดบทเรียนและกำหนดแนวทางการปรับปรุงระบบแจ้งเตือนภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

A woman wearing a black and white top smiles
37-year old Paetongtarn Shinawatra, Leader of Pheu Thai Party, is the youngest-ever prime minister of Thailand. Source: AP / Sakchai Lalit

แนวทางการเปลี่ยนแปลงระบบแจ้งเตือนภัย

นายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่าที่ประชุมได้ข้อสรุปให้มีการปรับเปลี่ยน แนวทางปฏิบัติงานมาตรฐาน (SOP) โดยให้สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนได้ทันทีเมื่อได้รับข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ไม่ต้องทำการวิเคราะห์ข้อความ ก่อนส่งต่อ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการแจ้งเตือนเหลือเพียง 1 ชั่วโมง โดยเนื้อหาของข้อความต้องมีความกระชับ ถูกต้อง และเข้าใจง่าย

แนวทางการใช้ Virtual Cell Broadcast ก่อนระบบเต็มรูปแบบ

ทั้งนี้ ในระหว่างรอการใช้งาน Cell Broadcast เต็มรูปแบบ ที่คาดว่าจะเปิดใช้งานในเดือนกรกฎาคม รัฐบาลจะใช้ระบบ Virtual Cell Broadcast เป็นมาตรการชั่วคราว ดังนี้:

  • สำหรับระบบ Android ซึ่งมีเลขหมาย 70 ล้านเลขหมาย ปภ. จะส่งข้อความแจ้งเตือนตรงไปยังผู้ให้บริการเครือข่าย (Operator) เพื่อกระจายสู่ประชาชนทันที
  • สำหรับระบบ iOS ซึ่งมีเลขหมาย 50 ล้านเลขหมาย จะใช้การส่ง SMS เป็นวิธีการชั่วคราว โดยให้ ปภ. ส่งข้อความตรงไปที่ Operator เช่นกัน
  • กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ กสทช. จะเร่งเจรจากับบริษัทแอปเปิล เพื่อให้สามารถใช้ Virtual Cell Broadcast ได้โดยเร็ว
  • มาตรการทั้งหมดนี้จะถูกนำมาใช้ทันที ก่อนที่ระบบ Cell Broadcast เต็มรูปแบบจะเปิดใช้งานในเดือนกรกฎาคม

การสื่อสารหลายช่องทางเพื่อแจ้งเตือนภัย

นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า SMS และ Cell Broadcast เป็นเพียงหนึ่งในวิธีการแจ้งเตือนภัย แต่รัฐบาลจะใช้ช่องทางสื่อสารอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย ได้แก่:

  • LINE, Facebook และแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ
  • โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ (ทีวีพูล) ซึ่งเคยใช้ในช่วงเกิดแผ่นดินไหว
  • การประชาสัมพันธ์ผ่านกรมประชาสัมพันธ์และสื่อหลัก เพื่อให้การแจ้งเตือนเข้าถึงประชาชนได้ทั่วถึง

ความพร้อมของระบบ Cell Broadcast เต็มรูปแบบของไทย

นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อระบบ Cell Broadcast เต็มรูปแบบเปิดใช้งาน ประชาชนทุกคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือจะได้รับการแจ้งเตือนโดยอัตโนมัติ พร้อมเสียงแจ้งเตือนที่ดังขึ้นเมื่อเกิดภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วมหรือพายุ เช่นเดียวกับระบบที่ใช้ในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที

การปรับปรุงระบบแจ้งเตือนภัยครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินของประเทศไทย ให้สามารถแจ้งเตือนประชาชนได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และครอบคลุมมากยิ่งขึ้น


แล้วระบบ Cell Broadcast ของออสเตรเลียเป็นอย่างไร

ย้อนดูภูมิหลังระบบเตือนภัยของออสเตรเลีย

ฟิโอนา ดันสตัน (Fiona Dunstan) ผู้จัดการแผนกการมีส่วนร่วมของชุมชนจากสำนักอุตุนิยมวิทยา (National Community Engagement Manager for the Bureau of Meteorology) กล่าวว่า ระบบเตือนภัยของออสเตรเลียถูกออกแบบเพื่อเตือนภัยสถานการณ์หลายประเภท เช่น น้ำท่วม ไฟไหม้ พายุไซโคลน ความร้อนรุนแรง และยังมีระบบแจ้งเตือนที่จัดลำดับการเตือนในแต่ละสถานการณ์อันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน หรือธุรกิจ ดังนั้นระบบนึงสำหรับก่อนเกิดเหตุและอีกระบบนึงคือระหว่างเกิดเหตุ

ปรับปรุงระบบเตือนภัยในทันสมัย รวดเร็ว และแม่นยำ

ออสเตรเลียเป็นอีกประเทศที่กำลังพัฒนาระบบ cell-broadcast ผ่านโครงการ ระบบส่งข้อความแห่งชาติ (The National Messaging System - NMS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแจ้งเตือนภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน ระบบนี้ถูกพัฒนาตามข้อเสนอแนะของ Royal Commission ประจำปี 2020 ซึ่งพบว่าระบบแจ้งเตือนภัยมีความสำคัญต่อรัฐบาลในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

การพัฒนาและการดำเนินงาน

รัฐบาลออสเตรเลียได้จัดสรรงบประมาณสำหรับการสร้างระบบ NMS ในปีงบประมาณ 2022-23 และ 2023-24 โดยโครงการนี้ดำเนินงานร่วมกันระหว่าง National Emergency Management Agency (NEMA) และ กระทรวงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง การพัฒนาภูมิภาค การสื่อสาร และศิลปะ (DITRDCA) นอกจากนี้ยังมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลระดับรัฐ เขตปกครอง และองค์กรบริการฉุกเฉิน เพื่อให้ระบบสามารถบูรณาการและทำงานได้อย่างเหมาะสม

ยกเครื่องเตือนภัยไปอีกขั้น

เว็บไซต์ของรัฐบาลกลางออสเตรเลียได้ระบุว่า NMS เป็นระบบแจ้งเตือนข้อความรูปแบบใหม่ ซึ่งนำข้อดีของเทคโนโลยี cell-broadcast มาใช้กับการแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉินในออสเตรเลีย ซึ่งเทคโนโลยี cell-broadcast ถือเป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการนำไปใช้ในกว่า 20 ประเทศสำหรับการสื่อสารแจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน
รัฐบาลฯยังระบุด้วยว่า NMS จะช่วยให้บริการข้อความฉุกเฉินทั่วออสเตรเลียสามารถส่งข้อความแจ้งเตือนแบบกำหนดเป้าหมายได้ โดยจะสามารถส่งข้อความเหล่านี้ไปยังโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์อื่นๆ ที่รองรับได้ในเวลาใกล้เคียงกับเวลาจริง ระบบนี้จะมีความน่าเชื่อถือ แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบปัจจุบัน ซึ่งหมายความว่าหน่วยงานต่างๆ สามารถติดต่อผู้คนได้อย่างรวดเร็วเมื่อถึงคราวจำเป็น ช่วยรักษาชีวิตและทรัพย์สินได้

ข้อความแจ้งเตือนจะรวมถึงข้อมูลต่อไปนี้:
  • ประเภทของเหตุฉุกเฉิน
  • สถานที่เกิดเหตุ
  • ความรุนแรงของเหตุฉุกเฉิน
  • ความต้องการการตอบสนอง
  • สถานที่ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

สถานการณ์ฉุกเฉินที่สามารถใช้ NMS ได้

ระบบ NMS ถูกออกแบบมาให้รองรับการแจ้งเตือนในหลายสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น:
  • ภัยธรรมชาติ เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม พายุไซโคลน และคลื่นสึนามิ
  • ภัยคุกคามต่อความปลอดภัยสาธารณะและความมั่นคง เช่น เหตุการณ์ความรุนแรงในที่สาธารณะ การก่อการร้าย
  • เหตุการณ์ด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เช่น ภัยพิบัติทางชีวภาพ การระบาดของโรคสัตว์และพืช
  • ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพ เช่น โรคระบาดหรือปัญหาสาธารณสุขระดับชาติอื่นๆ

จุดเด่นของระบบ NMS

NMS ได้รับการออกแบบให้เป็นระบบแจ้งเตือนที่มีประสิทธิภาพสูง โดยมีคุณสมบัติเด่นดังนี้:
  • แจ้งเตือนแบบเรียลไทม์: สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์ที่รองรับได้ในเวลาใกล้เคียงกับเวลาจริง
  • ความแม่นยำสูง: สามารถระบุตำแหน่งและส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังพื้นที่เป้าหมายได้อย่างแม่นยำถึง 160 เมตร
  • ความน่าเชื่อถือสูง: ระบบสามารถทำงานได้แม้เครือข่ายโทรศัพท์มือถือมีการใช้งานหนาแน่น
  • การแจ้งเตือนแบบเฉพาะกลุ่ม: สามารถส่งข้อความไปยังกลุ่มประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยไม่รบกวนผู้ที่อยู่นอกพื้นที่
  • รักษาความเป็นส่วนตัว: ระบบไม่เก็บรวบรวมหรือจัดเก็บหมายเลขโทรศัพท์และข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้
  • ความปลอดภัยสูง: ข้อความแจ้งเตือนสามารถส่งได้ผ่านเซิร์ฟเวอร์ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ป้องกันการแทรกแซงจากมิจฉาชีพ
  • สามารถข้ามการตั้งค่าห้ามรบกวน: ระบบสามารถส่งการแจ้งเตือนที่มีเสียงเตือนแม้ในขณะที่โทรศัพท์ตั้งอยู่ในโหมดเงียบ
  • รองรับหลายภาษาในอนาคต: ข้อความแจ้งเตือนเริ่มต้นจะเป็นภาษาอังกฤษ และจะมีการพัฒนาให้รองรับภาษาต่างๆ เพื่อให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม

ความคืบหน้าของระบบ NMS ในออสเตรเลีย

ปัจจุบัน NEMA ได้ทำสัญญาพัฒนาโครงการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2025 และขณะนี้กำลังดำเนินการสร้างระบบ โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบระบบเบื้องต้นในช่วง กลางถึงปลายปี 2026 เพื่อเริ่มการทดสอบ ก่อนเปิดใช้งานเต็มรูปแบบภายในช่วง กลางถึงปลายปี 2027

ระหว่างนี้ ระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินเดิมยังคงเป็นระบบหลักของประเทศไปจนถึงปี 2025-26 เพื่อให้แน่ใจว่าการเปลี่ยนผ่านไปยังระบบ NMS เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

การพัฒนา NMS ถือเป็นก้าวสำคัญของออสเตรเลียในการยกระดับมาตรฐานการแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินให้มีความแม่นยำ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในอนาคต


ติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่ หรือ และ

Share
Published 3 April 2025 3:29pm
Updated 3 April 2025 3:48pm
By Warich Noochouy
Source: SBS

Share this with family and friends