โครงการนำร่องที่ใหญ่ที่สุดในโลกในการทดลองทำงานสัปดาห์ละ 4 วันในประเทศอังกฤษเพิ่งเสร็จสิ้นลง และได้มีการนำเสนอผลลัพธ์ของโครงการต่อรัฐสภาของประเทศอังกฤษ
มีบริษัท 61 แห่งเข้าร่วมโครงการ
ในจำนวนนั้น 56 บริษัทได้ขยายการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งออกไปสำหรับพนักงานของตน
และมี 18 บริษัทได้นำการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ไปใช้อย่างถาวร
ในบรรดาบริษัทที่ชื่นชอบการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์และนำไปปฏิบัติอย่างถาวรก็คือ Royal Society of Biology
ดร. มาร์ก ดาวน์ เป็นหัวหน้าผู้บริหารขององค์กร Royal Society of Biology
เขาบอกว่าขณะนี้พนักงานลาป่วยกันน้อยลง
"เราเห็นว่ามีการลาป่วยน้อยวันลงระหว่างช่วงที่มีการทดลองโครงการ เราเริ่มจากมีพนักงานลาป่วยประมาณ 4-5วันต่อคนต่อปีโดยเฉลี่ย แต่มันลดลงเหลือน้อยกว่า 2 วันในขณะนี้" ดร.ดาวน์ กล่าว
เราเห็นว่ามีการลาป่วยน้อยวันลงระหว่างช่วงที่มีการทดลองโครงการดร. มาร์ก ดาวน์ ผู้บริหาร Royal Society of Biology
พนักงานคนหนึ่งของดร.ดาวน์ คือ คุณเทสซา กิบสัน
เธอกล่าวว่าการทำงานให้นานขึ้นเล็กน้อยเป็นเวลาสี่วันต่อสัปดาห์ไม่เพียงแต่ช่วยให้สุขภาพจิตของเธอดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เธอใช้เวลาอย่างคุ้มค่ามากขึ้นด้วยในวันหยุดของเธอ
"วันหยุดสุดสัปดาห์อาจค่อนข้างวุ่นวาย เพราะเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ 2 วัน ดังนั้นมันจึงดีที่มีวันหยุดเพิ่มอีกวัน เราได้เจอเพื่อนๆ และครอบครัวในช่วงสองวันที่พวกเขาก็ว่างเช่นกัน และจากนั้นเราก็มีวันหยุดอีกวันระหว่างสัปดาห์ เพื่อทำงานบ้านหรือเพื่อให้เวลาพักผ่อนแก่ตัวเอง ดังนั้นมันจึงสร้างความแตกต่างอย่างมากต่อสุขภาพจิตของฉัน" คุณกิบสัน กล่าว
การเปลี่ยนแปลงวิธีที่ผู้คนทำงานกำลังได้รับความสนใจจากธุรกิจทั่วโลก
คุณเบ็น เฟลตเชอร์ ชาวนิวซีแลนด์เป็นหุ้นส่วนอาวุโสของ แมคคินซีย์ แอนด์ คัมปานี (McKinsey and Company) บริษัทที่ปรึกษาระดับโลกด้านการบริหารจัดการธุรกิจ
ในการประชุมสุดยอดด้านกำลังแรงงาน ที่จัดขึ้นโดยหนังสือพิมพพ์ออสเตรเลียน ไฟแนนเชียล รีวิว (Australian Financial Review) เขาบอกกับผู้ฟังซึ่งเป็นผู้ที่มีอิทธิพลอย่างมากในแวดวงธุรกิจระดับโลกว่า ธุรกิจที่ดีที่สุดคือธุรกิจที่สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว
"เรามาในวันนี้เพราะอยากได้แนวคิดดีๆ แรงบันดาลใจดีๆ สำหรับสิ่งที่คุณจะสามารถทำได้ ได้รับความช่วยเหลือเล็กน้อยสำหรับสิ่งที่เราสามารถทำได้เพื่อกำหนดอนาคตของการทำงานร่วมกัน ผมคิดว่ามันเกี่ยวข้องกับองค์กรสมัยใหม่ที่มีความสามารถล้มแล้วลุกได้เร็วและมีความแข็งแกร่ง และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างทันท่วงที" คุณเบ็น เฟลตเชอร์
องค์กรสมัยใหม่ต้องมีความสามารถล้มแล้วลุกได้เร็วและมีความแข็งแกร่ง และสามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างทันท่วงทีเบ็น เฟลตเชอร์ หุ้นส่วนอาวุโสของ McKinsey and Company
สำหรับข้อมูลเชิงลึกว่าการทำงานสี่วันต่อสัปดาห์ในออสเตรเลียอาจมีลักษณะอย่างไร สามารถดูได้จากกรณีของบริษัท Symbiote ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์ในนครเมลเบิร์น
ภายใต้การนำของกรรมการผู้จัดการ โอเวน วินด์เซอร์ บริษัทได้เปลี่ยนมาให้พนักงานทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์
เขากล่าวว่าพนักงานมีความสุขมากขึ้น และผลิตภาพไม่ได้ลดลง
นอกจากนี้ เขายังตั้งข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงในแนวทางการปฏิบัติงานที่เกิดขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ของโควิด ได้มีบทบาทสำคัญสำหรับการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์
"มันเป็นไปได้ด้วยดีจริงๆ มันเป็นสิ่งที่เราในฐานะทีมพึงพอใจอย่างยิ่ง มันไม่ได้เปลี่ยนวิธีการที่เราทำงานกับลูกค้าของเรา ผลิตภาพในการทำงานยังคงยอดเยี่ยม แต่ผู้คนแค่กำลังมีความสุขกับที่ทำงานมากขึ้นเท่านั้น และผมก็คิดเช่นกันว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผ่านพ้นวิกฤตโควิดไปแล้ว มันเป็นการช่วยให้คนมีเวลาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพื่อทำสิ่งที่พวกเขา ต้องการ" คุณ วินด์เซอร์ กล่าว
มันไม่ได้เปลี่ยนวิธีการที่เราทำงานกับลูกค้า ผลิตภาพในการทำงานยังคงยอดเยี่ยม แต่ผู้คนแค่กำลังมีความสุขกับที่ทำงานมากขึ้นเท่านั้นโอเวน วินด์เซอร์ จากบริษัท Symbiote ในเมลเบิร์น
เขากล่าวต่อไปว่า เขาพบว่าตอนนี้พนักงานของเขามีสมาธิจดจ่อกับงานมากขึ้น และใช้เวลาในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด
"ผมจะไม่พูดว่าตอนนี้พนักงานมุ่งมั่นในการทำงานมากขึ้น ไม่ใช่เพราะเมื่อก่อนนี้พวกเขาไม่ได้มุ่งมั่น แต่ตอนนี้เรามีใจจดจ่อมากขึ้นกับสิ่งที่เรากำลังทำ เพราะเราอยู่ที่ทำงานน้อยลงเล็กน้อย พวกเราได้ปรับเปลี่ยนวิธีที่พวกเราประชุม พวกเราทำกิจกรรมที่เป็นสิ่งเสียเวลาน้อยลง และเราเพียงแค่ดำเนินกิจการให้รัดกุมกว่าที่เคยทำก่อนหน้านี้สักเล็กน้อย” คุณ วินด์เซอร์ กล่าว
เขายังกล่าวถึงการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ในบริบทของตลาดแรงงานในปัจจุบันว่า ขณะนี้อัตราการว่างงานค่อนข้างต่ำ และนายจ้างต้องทำมากกว่าที่เคยเพื่อดึงดูดพนักงานและรักษาพนักงานให้ทำงานกับองค์กรต่อไป
คุณวินด์เซอร์กล่าวว่า การทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์สี่วันเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในเรื่องนี้ แทนการทำสิ่งดีๆ เพียงผิวเผิน ซึ่งนายจ้างอาจทำ เพื่อพยายามทำให้พนักงานมีความสุข
"การหาคนดีๆ มาทำงานด้วยนั้นยาก นายจ้างมากมายให้สวัสดิการต่างๆ แต่เราต้องการทำบางสิ่งที่มีความหมายมากกว่านั้น เราจึงต้องการให้สิ่งตอบแทนที่มากกว่าแก่ผู้คน แทนที่จะแค่มีอาหารเช้าแบบบุฟเฟต์ให้ เป็นต้น"
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ซิลิโคสิส มัจจุราชเงียบบนเคาน์เตอร์หินมันวาว