คุณปรางทิพย์ เขียวขาว หรือคุณมะปราง (อ.แพม) เป็นครูสอนการทำครัวเชิงพาณิชย์ (Commercial Cookery หรือ Kitchen Management) ที่สถาบัน Australian Institute of Technical Training ในเมลเบิร์น คุณมะปรางมีประสบการณ์สอนในด้านนี้ในออสเตรเลียมานาน 12 ปี
เธอกล่าวว่า งานด้านนี้เป็นที่ต้องการและรายได้ดี “มันเป็นงานที่ on demand คือเป็นที่ต้องการอยู่แล้ว โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าแบ่งร่างเป็นฝาแฝดได้คงจะรวยไปแล้วค่ะ” คุณมะปรางกล่าวพร้อมหัวเราะ
คุณมะปรางขณะสอนนักเรียนภาคทฤษฎีในห้องเรียน Source: SBS / SBS Thai
มันเป็นงานที่เป็นที่ต้องการอยู่แล้ว โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าแบ่งร่างเป็นฝาแฝดได้คงจะรวยไปแล้วค่ะปรางค์ทิพย์ เขียวขาว (มะปรางค์)
เธออธิบายว่า นอกจากประสบการณ์แล้ว มีหลักสูตรบางอย่างที่ต้องผ่านการอบรมจึงจะทำงานสอนด้าน Cookery ในออสเตรเลียได้
“อย่างแรกเลยคือ จะต้องเป็น qualified chef โดยจะต้องเรียนจบหลักสูตรในออสเตรเลีย จบหลักสูตร Cert III, Cert IV, Diploma ถ้าจบ Advance Diploma ก็ดีค่ะ เพราะถ้าเราจบ Advance Diploma เราจะสอนได้ถึง Diploma ถ้าจบ Diploma จะสอนได้ถึง Cert IV ส่วนเรื่องประสบการณ์ทำงาน คนที่มีประสบการณ์จากประเทศตัวเองอยู่แล้ว แล้วมาต่อยอดที่นี่สัก 2-3 ปี ก็สามารถเริ่มเรียนต่อและจากนั้นก็สอนได้ค่ะ” คุณมะปราง กล่าว
นอกจากนี้แล้ว ผู้ที่อยากทำงานเป็นครูสอน Cookery จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรที่มุ่งเน้นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียนโดยเฉพาะ
“หลักสูตร Training and Assessment (TAE) นั้นหลาย ๆ คนคิดว่า หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่สอนให้เราเป็นครู แต่จริง ๆ มันไม่ใช่ เกินครึ่งมันจะเกี่ยวกับเรื่อง assessment เรื่องของการดูว่าหลักสูตรของเรามันตรงกับข้อกำหนดของ (ASQA Australian Skills Quality Authority) หรือเปล่า เราต้องดูด้วยว่าคำถามมันแฟร์กับเด็กไหม คำถามซ้ำกันไหมและตรงกับสิ่งที่เขาต้องการไหม”
นักเรียนที่คุณมะปรางสอนการทำครัวเชิงพาณิชย์มาจากหลากหลายชาติ Source: Supplied / Prangtip Kheawkhaw
นักเรียนของคุณมะปรางกำลังเขมักเขม้นกับการลงมือทำอาหารในภาคปฏิบัติ Source: Supplied / Prangtip Kheawkhaw
“ตอนเราเป็นเชฟ จุดสูงสุดของเราคือเราได้เป็น head chef เราก็สามารถสั่ง ๆ ๆ ๆ ทุกคนก็ต้องทำตาม เพราะเขาได้รับเงินเดือน เขาอยากได้งาน แต่พอมาเป็นครู เราสั่งอย่างเดียวไม่ได้ เราต้อง motivate นักเรียนด้วย เพราะว่าบริษัทจ่ายเงินเราเพื่อให้เราสอนคน ทำให้คนอยากมาเรียน ระบบในครัวมันจะเป็น hierarchy เหมือนแบบทหารน่ะค่ะ แต่เวลาเรามาเป็นครูมันไม่ใช่แบบนั้น แต่มันเหมือนเรามาเป็นแม่คน” คุณมะปราง กล่าว
เป็น head chef เราก็สามารถสั่ง ๆ ๆ ๆ ทุกคนก็ต้องทำตาม แต่พอมาเป็นครู เราสั่งอย่างเดียวไม่ได้ เราต้อง motivate นักเรียนด้วย
เธอย้ำว่า นอกจากรายได้ที่ดีแล้ว ยังมีอย่างอื่นมากกว่านั้นที่ทำให้เธอมีความสุขในการทำงาน
“มันเป็นอาชีพที่เงินก็ใช้ได้ แล้วมันก็มีความสุข กลับบ้านไป เรารู้สึกว่าเราได้ถ่ายทอดอะไรให้แก่คนรุ่นหลัง เราได้แบ่งปันประสบการณ์ให้คนรุ่นหลัง”
การสอนเป็นงานที่คุณมะปรางบอกว่าทำให้เธอรู้สึกมีความสุขที่ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การเป็นเชฟให้คนรุ่นหลัง Source: SBS / SBS Thai
มันเป็นอาชีพที่เงินก็ใช้ได้ แล้วมันก็มีความสุข กลับบ้านไป เรารู้สึกว่าเราได้ถ่ายทอดอะไรให้แก่คนรุ่นหลัง
คุณมะปรางยังได้ฝากถึงคนไทยในออสเตรเลียว่าความมุ่งมั่นตั้งใจจริงจะช่วยให้คุณไปถึงฝั่งฝันได้ในที่สุด “ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไรที่นี่ ถ้าภาษาอังกฤษเราได้ เราจะไปได้ คนไทยเป็นอะไรได้มากกว่าแค่อยู่เบื้องหลัง ถ้าเรามีความตั้งใจ เราไปได้หมดค่ะ”
คุณมะปรางอธิบายความแตกต่างของการทำงานเชฟในครัวกับการสอนทำครัวในห้องเรียนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ความท้าทายในการบริหารจัดการนักเรียน การประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ที่โรงเรียน พร้อมคำแนะนำสำหรับผู้ที่สนใจผันตัวจากเชฟมาทำงานด้านนี้ในออสเตรเลีย ติดตามฟังประเด็นเหล่านี้ได้ในสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
คลิก ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
จากเชฟมาเป็นครูสอนทำครัวในออสเตรเลียทำอย่างไร
SBS Thai
03/08/202318:38
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์
บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
‘วีซ่าภายใน 3 วัน’ สำหรับครูและพยาบาลที่ต้องการมาออสเตรเลีย