ดอกเบี้ยลดลงแล้วแต่แนวโน้มในอนาคตจะเป็นอย่างไร

RBA RATE DECISION

ผู้ว่าการธนาคารกลาง มิเชล บุลล็อค (AAP) Source: AAP / DAN HIMBRECHTS/AAPIMAGE

เมื่อวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ ธนาคารกลางมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการตามคาด ซึ่งเป็นการปรัลดอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปี 2020 เป็นต้นมา แต่ก็ยังมีปัจจัยหลายด้านที่ผู้เชี่ยวชาญส่งสัญญาณว่าอาจยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมภายในปีนี้


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

หลังจากที่อัตราดอกเบี้ย ถูกปรับขึ้น 13 ครั้ง ก่อนที่ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาจะมีการคงดอกเบี้ยอัตราเงินสดไว้ด้วยอัตราร้อยละ 4.35 และหลังจากการปรับลดดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.25 เมื่อวันที่ 18 ก.พ.

ขณะนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินสดในออสเตรเลียอยู่ที่ร้อยละ 4.1

เว็บไซต์เปรียบเทียบทางการเงินแคนสตาร์ (Canstar) ได้สร้างแบบจำลองทางการเงินเพื่อแสดงให้เห็นว่าสำหรับผู้กู้ที่มีเงินกู้ผันแปรมูลค่า 600,000 ดอลลาร์และมีระยะจ่ายเงินกู้เงินเหลืออีก 25 ปี ในระดับร้อยละ 6.33

การปรับดอกเบี้ยล่าสุด จะช่วยให้ผู้กู้ประหยัดเงินได้ 92 ดอลลาร์และถ้ามีการปรับลดสี่ครั้งจะทำให้ประหยัดเงินไปได้ 359 ดอลลาร์ต่อเดือน

อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการธนาคารกลาง มิเชล บุลล็อค กล่าวว่าเธอยังไม่สามารถกล่าวได้ว่าขณะนี้เราควบคุมสถานการณ์เงินเฟ้อได้

"การตัดสินใจในวันนี้ไม่ได้หมายถึงแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมในอนาคต ตามคำแนะนำของตลาด เราได้ลดระดับคำเตือนที่ประกาศไว้ในเดือน พฤศจิกายนปี 2023 ไปสู่ระดับที่เรายังคงเห็นว่ามีข้อจำกัด"
คณะกรรมการต้องการข้อมูลเพิ่มเติมว่าอัตราเงินเฟ้อของเรายังคงลดลงอย่างต่อเนื่องก่อนที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมใดๆ ในอนาคต
ผู้ว่าการธนาคารกลาง มิเชล บุลล็อค
ความเห็นจากฝั่งการเมืองซึ่งมีความคิดเห็นในประเด็นนี้ไปในทิศทางเดียวกับธนาคารกลาง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จิม ชาลม์เมอร์ส กล่าวว่า

"เรายินดีอย่างยิ่งกับมติในวันนี้ แต่ภารกิจของเรายังไม่สำเร็จลุล่วงเพราะเรารู้ว่าผู้คนยังอยู่ภายใต้ความกดดันทางเศรษฐกิจ"

ส่วน แองกัส เทย์เลอร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ของพรรคฝ่ายค้าน ก็ส่งสาร์นเตือนถึงอนาคตที่ไม่แน่นอน

"ธนาคารกลางคาดการณ์ว่ามาตรฐานค่าครองชีพจะแย่กว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ และมันส่งผลกระทบต่อชาวออสเตรเลียมากยิ่งขึ้น เรายังมีงานต้องทำอีกมากต่อจากวันนี้ "

ประมาณหนึ่งในสามของชาวออสเตรเลียไม่มีหนี้จำนองบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุมากกว่า 25 หรือ 30 ปี และเป็นวงเงินกู้ที่มีอัตราผันแปรซึ่งหมายความว่าการลดอัตราดอกเบี้ย จะทำให้มีเงินในกระเป๋ามากขึ้นในแต่ละเดือน

อีกหนึ่งในสาม เป็นเจ้าของบ้านซึ่งหมายความว่าพวกเขามีแนวโน้มที่จะมีเงินบำนาญและมีเงินในธนาคาร ดังนั้น พวกเขาจึงได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

ส่วนที่เหลืออีกหนึ่งส่วน เป็นผู้เช่า ซึ่งหลายคนอาศัยอยู่ในบ้านที่ยังติดการจำนอง ดังนั้น ในบางกรณี อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจึงทำให้ค่าเช่าที่สูงขึ้นตามไปด้วย


นักวิเคราะห์เศรษฐกิจจาก Oxford Economics ฌอน แลงฟอร์ด ชี้ว่าสถานการณ์ปีนี้ยังมีความหวังอยู่บ้าง

"มันควรเป็นปีที่มีทิศทางบวกสำหรับการเพิ่มค่าแรงค่าจ้างที่แท้จริง เราพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่จะทำให้มีการขึ้นค่าจ้างในตลาดแรงงาน ขณะที่อัตราการว่างงานยังคงที่ คุณต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง มันจะค่อยๆ บรรเทาวิกฤตค่าครองชีพ "

และ ผู้เชี่ยวชาญจาก Deloitte Access Economics คุณ พราดีพ ฟิลิป กล่าวว่า

"เราคิดว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นของวงจรใหม่ของอัตราดอกเบี้ย ในอนาคตอันใกล้ เพราะการอภิปรายที่สำคัญนี้จะนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจผ่านการลงทุน นี่คือสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ"

"ความจริงก็คือในออสเตรเลียปัจจุบันที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างชะลอตัวและอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง นี่เป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการลดอัตราดอกเบี้ย หลังจากนั้นก็ควรมีมาตรการเพิ่มการลงทุนและสร้างความเชื่อมั่นทางธุรกิจ"

มติการลดดอกเบี้ย ของธนาคารกลาง ถือเป็นกุญแจสำคัญในการเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐที่กำลังจะมีขึ้น โดยความหวังในการบรรเทาเรื่องภาระค่าใช้จ่ายหนี้ค่าบ้านของประชาชน ผูกติดอยู่กับภาวะการเปลี่ยนแปลงการเมืองของรัฐบาล

แม้ว่านายกรัฐมนตรี แอนโทนี อัลบานีซี จะอ้างว่าวันเลือกตั้ง (ซึ่งอย่างช้าที่สุด จะต้องกำหนดภายในวันที่ 17 พฤษภาคมเป็นอย่างช้าที่สุด) จะไม่เกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

ด้วยอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันยังคงสูงกว่าเป้าที่ RBA ตั้งไว้ที่ 3.2 เปอร์เซ็นต์ การตัดสินใจในการลดดอกเบี้ยครั้งต่อไปเป็นเรื่องที่ยาก และจากการคาดการณ์ในการประชุมครั้งต่อไปของ RBA ในต้นเดือนเมษายนยังไม่มีความมั่นใจว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



สามารถติดตามเราได้ในช่องทางใหม่ทาง Instagram ที่












Share

Recommended for you