แชร์ประสบการณ์ขอทุนปริญญาเอกผ่านมุมมองของ นร. ด้านจุลชีววิทยาในออสเตรเลีย

Ham-doctoral-1

ภาพบรรยากาศในห้องแลปร่วมกับเพื่อนนักศึกษา ป. เอก และนักวิจัย

ข้อกำหนดและคุณสมบัติของการชิงทุนเรียนปริญญาเอกต่างประเทศเป็นอย่างไร? มีภาระผูกพันหลังเรียนจบอะไรบ้าง? วันนี้ คุณนปวิช นนทแก้ว (แฮม) ชวนเอสบีเอส ไทย มาคลายข้อสงสัย รวมไปถึงการแชร์ประสบการณ์ใช้ชีวิต อิสรภาพ และความสนับสนุนที่ได้รับผ่านมุมมองของนักเรียนทุนด้านสาขาจุลชีววิทยาแห่งมหาวิทยาลัย University of Melbourne


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คุณนปวิช นนทแก้ว (แฮม) อดีตทีมฝ่ายผลิตวัคซีนจากบริษัทสยาม ไบโอ ไซเอนซ์ (Siam Bio Science) ที่ได้ร่วมผลิตวัคซีนโควิดให้กับ Astra Zeneca ก่อนจะได้ตัดสินใจมาเดินตามความฝันในการขอทุนการศึกษาปริญญาเอกและใช้ชีวิตที่ต่างประเทศ

ในวันนี้ นับเป็นเวลาเกือบสองปีแล้วที่คุณแฮมได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของออสเตรเลียในฐานะนักเรียนทุน ป. เอก ด้านจุลชีววิทยาเพื่อทำงานวิจัยทำความเข้าใจกลไกการควบคุมการสร้างยาในเชื้อเพื่อหายาตัวใหม่ ๆ เพื่อการรักษาในวงการแพทย์ในอนาคต

เล่าถึงสิ่งที่เรากำลังเรียน

ในด้านจุลชีววิทยาเพื่อการผลิตยารักษาโรคที่เราเรียนนั้นมีความหลากหลายเกี่ยวกับเชื้อโรค ตั้งแต่การศึกษาเกี่ยวกับเชื้อก่อโรค วิวัฒนการของเชื้อและการรับมือ หรือเรื่องของการแพร่ระบาดและการก่อโรคในคน

ส่วนตัวเราจะศึกษาเรื่องการสังเคราะห์ยาด้วยการใช้แบคทีเรียและจุลินทรีย์ที่เราเจอได้ตามธรรมชาติ เช่น เพนนิซิลเลียม (Penicilium) ซึ่งเชื้อพวกนี้มีความสามารถในการผลิตยาปฏิชีวนะได้อยู่แล้ว

งานวิจัยของผมคือการทำความเข้าใจกลไกการควบคุมการสร้างยาในเชื้อ โดยมีเป้าหมายของเราคือการหายาตัวใหม่ ๆ เพื่อนำมาใช้ในอนาคตเมื่อมีการดื้อยาหรือไม่ตอบสนองกับยา ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต
ham-doctoral-2
คุณแฮม ในฐานะ 1 ใน 45 นักศึกษาและนักวิจัยจากทั่วโลกที่ได้คัดเลือกให้เข้าร่วม John Innes Summer School เพื่อการอบรมและพูดคุยเกี่ยวกับ Microbial Natural Products (สารสำคัญจากจุลินทรีย์)
เราหาข้อมูลการได้รับทุน ป. เอกอย่างไรบ้าง?

ต้องยอมรับว่าการหาข้อมูลด้วยตัวเองบนอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะไม่ค่อยมีใครมาแชร์ข้อมูลกันว่ากฎเกณฑ์การพิจารณาทุนนั้น มีรายละเอียดจริง ๆ อย่างไรบ้าง เราโชคดีที่มีคนรอบตัวเคยผ่านการชิงทุน ป. เอกมาก่อน องค์ความรู้และการเตรียมตัวของเราจึงมาจากคนใกล้ตัวซะเป็นส่วนใหญ่
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า ทุนเรียนฟรีนั้น ที่จริงมีอยู่เกือบทั่วโลก
คุณแฮมกล่าว
การจะได้ทุนเรียนในระดับปริญญานั้น แบ่งเป็นสองช่องทางหลักคือ ทุนจากรัฐบาลไทย ซึ่งต้องผ่านการสมัครสอบและกลับมาทำงานใช้ทุนตามตำแหน่งงานที่กำหนด โดยจะมีข้อดีคือ การมีงานให้ทำเลยหลังเรียนจบ แต่อาจจะขาดโอกาสในการเปลี่ยนสายงานหลังเราเรียนจบ ส่วนทุนประเภทที่สองคือ ทุนแบบให้เปล่า ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้กับนักเรียนชาวต่างชาติด้วยเงินทุนจากทางรัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยในประเทศนั้น ๆ

โดยการที่เราจะยื่นขอทุน ป. เอก นอกจากผลการเรียนที่ดีและมีการตีพิมพ์งานวิจัยเพื่อพิสูจน์ว่าเราผ่านการทำงานมาอย่างเข้มข้นแล้ว การเตรียมเอกสารให้แตกต่างจากผู้สมัครอื่นก็เป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้เราได้รับการคัดเลือกด้วยเช่นกัน
ham-doctoral-3
ภาพบรรยากาศตอนประชุมกลุ่มวิจัยประจำสัปดาห์
ข้อแตกต่างของทุน ป. เอกในออสเตรเลียกับทุนของประเทศอื่น?

ทุนปริญญาเอกในออสเตรเลียจะไม่บังคับว่าเราต้องมีการตีพิมพ์งานวิจัยออกมาก่อนถึงจะถือว่าเรียนจบได้

ส่วนในเรื่องของสภาพแวดล้อมและความพร้อมของมหาวิทยาลัยนั้น จากประสบการณ์ส่วนตัว เราพบว่าออสเตรเลียและญี่ปุ่นมีความคล้ายกัน คือมีการอำนวยความสะดวกที่ต่างจากไทยซึ่งมีค่อนข้างจำกัด ทั้งการเข้าถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ให้เราเลือกใช้เพื่องานวิจัยของเราได้สะดวกกว่ามาก เราจึงทำงานได้ไวกว่า
ความรับผิดชอบตัวเองได้คือสิ่งที่สำคัญมากในการมาเรียนต่อ ป. เอก เพราะเราต้องวางแผนการใช้เวลาเองทั้งหมด รวมไปถึงการจัดการกับความเครียดของเราด้วย
คุณแฮมกล่าว
ส่วนด้านอื่นที่ประทับใจ คือ Work Life Balance ที่ดี ซึ่งนอกจากจะเป็นเมืองที่เดินทางสะดวก เวลาการทำงานที่ชัดเจน มีบริการจิตแพทย์ให้เราได้ปรึกษาฟรี จนไปถึงเงินทุนที่เค้าสนับสนุนให้เราได้ไปแลกเปลี่ยนไปงานประชุมพบปะคนในสายงานเดียวกันในต่างประเทศ มันทำให้เราได้คอนเนกชัน ซึ่งจะช่วยเหลือเราเวลาที่อยากทำงานวิจัยและต้องการส่งต่อให้แลปอื่น ๆ ได้ช่วยกันทำต่อ โดยค่าใช้จ่ายเดินทางและการกินอยู่นั้นครอบคลุมอยู่ในทุนหมดเลย
ham-doctoral-4
บรรยากาศตอนไปพบปะกับกลุ่มวิจัยที่มหาวิทยาลัยฮอกไกโด ณ ประเทศญี่ปุ่น
สรุปสิ่งที่ต้องเตรียมเพื่อขอทุน ป. เอก

มีสามส่วนหลักด้วยกัน ได้แก่ อันดับแรก คือ เกรดผลการเรียนที่ควรจะอยู่ที่ 80% ขึ้นไปหรือเทียบเท่าเกียรตินิยมอันดับสองในประเทศของเรา สองคือ สิ่งที่เอกสารประกอบการพิจารณาในการสมัคร เช่น ผลงานวิจัยและงานตีพิมพ์ ยิ่งเราเตรียมไวตั้งแต่ ป.ตรี ได้ก็จะยิ่งดี สามคือ ประสบการณ์ทำงานเพื่อให้ตรงกับสิ่งที่เราอยากจะมาเรียนต่อ ซึ่งต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่

Share

Recommended for you