รอมฎอนคือ เดือนลำดับที่ 9 ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งสำหรับชาวมุสลิมแล้วถือเป็นเดือนที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาเดือนอื่นๆ เพราะถือว่าเป็นเดือนที่คัมภัร์อัลกุรอ่านถูกประทานลงมา ทั้งยังเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดตลอดทั้งเดือน โดยปกติแล้วเดือนในปฏิทินอิสลามจะมีความยาว 29- 30 วัน นั่นเพราะปฏิทินอิสลามเป็นปฏิทินตามจันทรคติ การกำหนดเดือนในแต่ละเดือนจึงต้องมีการดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันขึ้นเดือนใหม่
ในช่วงเดือนนี้มุสลิมจะบำเพ็ญเพียร ทำความดี เพราะถือว่าเป็นเดือนที่การตอบรับผลความดีนั้นเป็นสองเท่า จะมีการละหมาดที่พิเศษขึ้นในช่วงค่ำคืน (ตะรอเวียะ)
ซึ่งปีนี้การเดือนรอมฎอนในออสเตรเลียจะเริ่มขึ้นในวันที่ 12 มีนาคม 2024 ตามประกาศของคณะกรรมการอิสลามแห่งออสเตรเลีย
เดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีความสำคัญกับมุสลิมทั่วโลก การถือศีลอดเป็นบทบัญญัติข้อที่ 3 จาก5ข้อของหลักอิสลาม ทุกคนต้องถือศีลอดไม่ว่าชนชาติไหน จะอยู่ในสถานะต่ำหรือสูงก็ต้องถือทั้งหมดนายอดุลย์ บินกานี ประธานสมาคมมุสลิมไทยในออสเตรเลีย กล่าวกับเอสบีเอสไทย
โดยปกติแล้วการถือศีลอดจะเริ่มขึ้นตั้งแต่แสงแรกของวันไปจนถึงพระอาทิตย์ตกดิน ระยะเวลาในการถือศีลอดของมุสลิมในแต่ละมุมโลกจึงมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับที่ตั้งของโซนเวลาของแต่ประเทศ
ยกตัวอย่างเช่นประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตร จะมีระยะเวลาในการถือศีลอดที่ค่อนข้างสั้น และสม่ำเสมอเท่ากันในทุกปี เช่น มุสลิมในประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซียจะถือศีลอดราวๆ 13- 14 ชั่วโมงต่อวัน
การดูดวงจันทร์ถือเป็นหนึ่งในวิธีการกำหนดเดือนของอิสลาม Source: AP / Ebrahim Noroozi/AP
หรือประเทศแถบขั้วโลกใต้อย่างออสเตรเลีย ที่ปีนี้การถือศีลอดมาตรงกับช่วงปลายของฤดูร้อน ระยะการถือศีลอดก็จะนานกว่าปีอื่นๆ
โดยในรัฐวิกตอเรียจะเริ่มถือศีลอดตั้งแต่เวลา ตี 5.47 น. ถึง 19.44 น. หรือราว 14 ชั่วโมง (เวลาในแต่ละวันจะขึ้นอยู่กับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์) ในแต่ละรัฐและเขตดินแดนของออสเตรเลียจะมีเวลาที่แตกต่างกันขึ้นอยู่บนโซนเวลาของพื้นที่นั้นๆ
นายอดุลย์ บินกานี ประธานสมาคมมุสลิมไทยในออสเตรเลีย กล่าวกับเอสบีเอสไทยถึงความท้าทายของการถือศีลอดในช่วงหน้าร้อนของออสเตรเลียในปีนี้ว่า พระผู้เป็นเจ้าได้มอบความสบายและความยากลำบากเพิ่มขึ้น มันก็ช่วยทำให้การทำคุณงามความดีเพิ่มขึ้นไปด้วย
ช่วงเดือนรอมฎอน มุสลิมส่วนใหญ่จะถือโอกาสนี้ในการทำคุณงามความดี เพราะเชื่อว่าหากทำความดีในเดือนนี้จะได้รับผลบุญสองเท่า Source: Getty / Getty Images/ozgurdonmaz
มันไม่ได้มีอะไรแตกต่าง เพียงแต่วันไหนที่ร้อนมาก อาจจะกระหายน้ำเพิ่มขึ้นนิดหนึ่ง แต่สำหรับมุสลิมที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ แทบจะไม่มีผลอะไรเลยนายอดุลย์ บินกานี ประธานสมาคมมุสลิมไทยในออสเตรเลียกล่าว
โดยปกติแล้วคนทั่วไปอาจคิดว่าการถือศีลอดนั้นคือการงดการกิน การดื่มเท่านั้น ทว่าตามหลักการปฏิบัติของอิสลามแล้ว การถือศีลอดเป็นมากกว่านั้น นอกจากจะไม่มีการดื่ม การกินตลอดทั้งช่วงกลางวันแล้ว ยังต้องเว้นการกระทำอื่นๆ ด้วย เช่นการสูบบุหรี่ การร่วมเพศ เป็นต้น และยังรวมไปถึงการควบคุมวาจา ใจ จากการคิดไม่ได้ การยับยั้งตัวเองทั้งหมด
โดยปกติแล้วชาวมุสลิมส่วนใหญ่จะตื่นมาทานข้าวมื้อก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า “ซาโฮร์” และจะทานอีกทีคือช่วงพระอาทิตย์ลับขอบฟ้า เรียกว่า “อิฟตาร์” หรือการละศีลอดนั่นเอง
การถือศีลอดไม่ใช้เฉพาะแค่การอดข้าว อดน้ำ แต่เป็นการอดกลั้นอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากที่จะพูดในสิ่งที่ไม่ดีก็ต้องระงับ หูจะไปฟังในสิ่งที่ไม่ดีก็ต้องหลีกเลี่ยงออกมา สายตาที่จะมองในสิ่งที่ไม่ดีก็ต้องยุตินายอดุลย์ บินกานี
นายอดุลย์ กล่าวด้วยว่า การถือศีลอดนั้นบังคับใช้กับมุสลิมทุกคน ยกเว้นคนที่ป่วย ชรา สตรีมีครรถ์ หรือคนที่มีอุปสรรคลำบากตามที่ศาสนากำหนด
ในบทความของระบุว่าการอดอาหารช่วยให้มีอายุยืนยาวขึ้น ลดความเสี่ยงต่อโรคทางด้านเมแทบอลิซึมไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วนโรคหัวใจและหลอดเลือด ไขมันสูงในเลือดหรืออินสุลินและน้ำตาลสูงในเลือด สุขภาพร่างกายดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ดร.วินัย ระบุว่า การอดอาหารจะเป็นในเดือนรอมฎอนหรือนอกเดือนรอมฎอน มุสลิมจะถือกันอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่มีแสงอาทิตย์ หากเป็นประเทศไทยการถือศีลอดไม่กินไม่ดื่มจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องตลอด 12-14 ชั่วโมง บางประเทศอาจมีช่วงเวลาของแสงอาทิตย์ยาวกว่านี้เป็นต้นว่า 18 ชั่วโมง แต่บางพื้นที่ของโลกอาจมีช่วงเวลาของแสงอาทิตย์สั้นลงประมาณ 8 ชั่วโมง ดังนั้นการอดอาหารที่แนะนำกันจึงให้อดต่อเนื่องกันไม่ต่ำกว่า 8 ชั่วโมงจึงจะให้ผลดีต่อสุขภาพ การกินอาหารน้อยลงแต่แบ่งเป็นอาหารมื้อเล็กๆ กินทั้งวันเพื่อลดอาการหิวนั้นไม่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเลย
ในการละศีลอดของชาวมุสลิม หลักปฏิบัติที่สืบทอดกันมา คือการเริ่มต้นด้วยอินทผาลัม 1 ผล ในทางวิทยาศาสตร์ระบุว่าการทานอินทผาลัมหลังจากอดอาหารนั้นช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือด Source: AAP
ลองโกทำงานวิจัยด้านการอดอาหารกับภูมิต้านทานไว้หลายชิ้น โดยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ.2014 ศึกษาทั้งในคนและในหนูทดลอง พบว่าเมื่ออดอาหารแบบ IF ซึ่งแตกต่างจากการถือศีลอดของมุสลิมเล็กน้อย โดยอดอาหาร 16 ชั่วโมงคร่อมเวลากลางคืนต่อเนื่องกันนานสามวัน ผลคือเม็ดเลือดขาวในเลือดลดลง เอนไซม์ PKA และฮอร์โมน IGF-1 ลดลง ตลอดช่วงสามวันพบว่าเมื่อได้รับอาหารอีกครั้ง ร่างกายเกิดการกระตุ้นกลไกการสร้างเม็ดเลือดขาวใหม่ขึ้นทดแทน ภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้น สรุปคือการอดอาหารช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานใหม่สดขึ้นมา เป็นภูมิต้านทานที่พร้อมจะรับมือกับโรคที่จะเข้ามากร้ำกราย
ดร.วินัย เผยด้วยว่า ในปัจจุบันการอดอาหารสองวันต่อสัปดาห์กลายเป็นความนิยมของกลุ่มคนที่ลดน้ำหนักตัวโดยเรียกวิธีการเช่นนี้ว่า “แนวทางโภชนาการ 5:2” หรือกินห้าวันอดสองวันต่อสัปดาห์ ในแนวทางดังกล่าววันที่กำหนดให้อดอาหารไม่ได้มีการถือเคร่งครัดแบบอิสลามคืออาจกินหรือดื่มในช่วงวันก็ได้แต่ให้ลดอาหารลงเหลือพลังงานเพียงหนึ่งในสี่ที่ได้รับต่อวัน หากเป็นชายได้รับ 600 กิโลแคลอรี ส่วนหญิงให้เหลือ 500 กิโลแคลอรีเท่านั้น
“แนวทางโภชนาการ 5:2” หรือกินห้าวันอดสองวันต่อสัปดาห์ เป็นการลดอาหารลงเหลือพลังงานเพียงหนึ่งในสี่ที่ได้รับต่อวัน หากเป็นชายได้รับ 600 กิโลแคลอรี ส่วนหญิงให้เหลือ 500 กิโลแคลอรีเท่านั้น Source: Getty / Getty Images/lacaosa
ดร.วินัย มองว่า การอดอาหารแบบเป็นช่วง 5:2 เช่นนี้แม้แทบไม่ต่างจากการถือศีลอดของมุสลิมแต่แพทย์แห่งโรงพยาบาลปารีสที่ฝรั่งเศสซึ่งแนะนำโปรแกรมลดน้ำหนักด้วยวิธีการอดอาหารเช่นเดียวกับการถือศีลอดกล่าวไว้ว่าต้องอดอาหาร 45 วันแทนที่จะเป็น 30 วันโดยให้เพิ่มขึ้น 15 วันเพื่อชดเชยผลด้านจิตวิญญานจากความศรัทธาซึ่งคนมุสลิมได้รับจากการถือศีลอดขณะที่คนอดอาหารทั่วไปที่ไม่ใช่มุสลิมไม่ได้รับ
“การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนหากทำอย่างถูกต้องโดยไม่มีการกินเพิ่มในเวลาก่อนนอนให้ผลดีต่อสุขภาพโดยมีรายงานวิจัยจำนวนมากมายกล่าวถึงเรื่องนี้กันไว้แล้ว”
ติดตามซีรีส์รอมฎอน เรื่องราวการถือศีลอดของคนไทยในออสเตรเลียที่เอสบีเอสไทยจะพาไปเจาะลึกวิถีชีวิตตั้งแต่ตะวันขึ้นยันตะวันตกดิน
หมายเหตุ:บทสัมภาษณ์มีการปรับเพื่อความกระชับและความเข้าใจ