ภาษาพื้นเมืองออสเตรเลีย: ภาษาที่ใกล้สูญหายและความพยายามฟื้นฟูภาษามาใช้อีกครั้ง

AIATSIS Paper and Talk_Linguist with PKKP Aboriginal Corporation, Pinikura language group (Pilbara region, WA)_credit AIATSIS.JPG

AIATSIS Paper และ Talk_Linguist โดย PKKP Aboriginal Corporation ของกลุ่มภาษาพินิกุระ หนึ่งในภาษาของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย Credit: AIATSIS

ปัจจุบันมีการใช้ภาษาพื้นเมืองมากกว่า 100 ภาษาในออสเตรเลีย ภาษาบางภาษาพูดโดยคนเพียงไม่กี่คน และส่วนใหญ่เสี่ยงต่อการสูญหายไปตลอดกาล อย่างไรก็ตามมีการนำภาษาพื้นเมืองหลายภาษามาใช้อีกครั้ง


ประเด็นสำคัญ
  • ชนพื้นเมืองออสเตรเลียมีภาษาถิ่นกว่า 100 ภาษา
  • หลายภาษาถิ่นเสี่ยงที่จะสูญหายไปตลอดกาล
  • การสำรวจภาษาพื้นเมืองแห่งชาติพบมีการนำภาษาถิ่นกลับมาใช้อีกครั้งในกว่า 31 ชุมชน
ภาษานับเป็นสิ่งเฉพาะตัวที่เกี่ยวเนื่องกับสถานที่และผู้คน กล่าวกันว่าดินแดนคือแหล่งกำเนิดของภาษา

เคที ทรินดัล รองประธานของมูลนิธิภาษาพื้นเมืองออสเตรเลีย (Aboriginal Languages Trust) อธิบายว่าภาษาเป็นส่วนหนึ่งของตัวตนของเธออย่างไร

“ภาษาบอกฉันว่าฉันเป็นใคร การรู้ภาษาทำให้ฉันรู้จักแผ่นดิน และแผ่นดินก็รู้จักฉัน สิ่งสำคัญคือคุณต้องมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินและมีความรู้ และเมื่อรู้ภาษาก็จะมีความรับผิดชอบทางวัฒนธรรมตามมา ภาษามาพร้อมกับการรู้เรื่องราวเกี่ยวกับแผ่นดิน ฉันภูมิใจมากที่เป็นชาวโกเมรอย มูร์รี ยินนาร์ จากแผ่นดินทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งเป็นดินแดนดินดำของนาร์ราบรี และนั่นคือที่ที่ฉันผูกพันธ์ เพราะชื่อของฉัน ภาษาของฉัน วัฒนธรรมของฉันบอกฉันแบบนั้น”
AIATSIS Paper and Talk_Kukatj language group_credit AIATSIS.jpg
AIATSIS Paper และ Talk_Kukatj กลุ่มชนพื้นเมืองที่พยายามฟื้นฟูภาษาดั้งเดิม Credit: AIATSIS
การสำรวจสำมะโนประชากรปี 2021 รายงานว่าปัจจุบันคนพื้นเมือง 77,000 คนพูดภาษาอะบอริจินหรือภาษาชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ชาวยุโรปย้ายมาตั้งถิ่นฐาน มีภาษาและสำเนียงท้องถิ่นหลายร้อยภาษาที่ใช้พูดกันทั่วออสเตรเลีย

แล้วมีกี่ภาษากันแน่ที่ใช้พูด?

จอห์น กิบบ์ ชาววิราจูรี และผู้อำนวยการบริหารของกลุ่มวิจัยและการศึกษาที่ AIATSIS ซึ่งสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสของออสเตรเลียอธิบายเรื่องนี้

“หากคุณพิจารณาภาษาที่แตกต่างกันมากจนคนที่ใช้ภาษาข้างเคียงไม่สามารถเข้าใจสิ่งที่คุณพูดได้ วิธีนี้จำแนกได้ว่ามีภาษาที่แตกต่างกันมากกว่า 250 ภาษา อย่างไรก็ตาม ภาษาเป็นรูปแบบหนึ่งของอัตลักษณ์ทางสังคม ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียและภาษาอังกฤษแบบอเมริกันนั้นทางเทคนิคแล้วเป็นภาษาเดียวกัน แต่ในฐานะชาวออสเตรเลีย เราถือว่าตนเองเป็นหนึ่งเดียวกับอีกภาษาหนึ่งภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียอย่างแน่นอน หากคุณพิจารณาภาษาจากมุมมองของอัตลักษณ์ทางสังคม จะพบว่าภาษาเหล่านี้มีรูปแบบภาษาที่แตกต่างกันประมาณ 600 ถึง 800 รูปแบบที่ใช้ในออสเตรเลีย”

จำนวนของภาษาพื้นเมืองลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป

การสำรวจภาษาพื้นเมืองแห่งชาติโดย AIATSIS ปี 2019 รายงานว่ามีภาษาพื้นเมืองเพียง 123 ภาษาที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันหรืออยู่ระหว่างการฟื้นฟู

“ในหมู่เกาะช่องแคบทอร์เรส มีกลุ่มบริเวณตะวันตกและตอนกลางของช่องแคบทอร์เรสที่พูดภาษาเดียวกัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาษาพื้นเมือง ส่วนภาษาที่พูดกันทางส่วนตะวันออกของช่องแคบทอร์เรสเป็นภาษาปาปัว เราอาจมีคำศัพท์ภาษาปาปัวที่ใช้กันทั่วไป แต่ไวยากรณ์และคำศัพท์นั้นไม่สามารถเข้าใจได้”
Teacher And Her Female Students
นักเรียนชนพื้นเมืองขณะนั่งเรียนกับครูสอนภาษา Credit: SolStock/Getty Images
ภาษาครีโอล (Creole) ของชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสเป็นการผสมผสานระหว่างภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลียและภาษาพื้นเมือง เป็นภาษาที่ใช้ในชุมชนที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ไม่นาน ข้อมูลของสำนักงานสถิติออสเตรเลียระบุว่าเป็นภาษาที่ชนพื้นเมืองพูดกันมากที่สุดในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามภาษาดั้งเดิมที่ใช้กันทั่วไปในออสเตรเลียและช่องแคบทอร์เรสส่วนใหญ่พูดโดยผู้สูงอายุเท่านั้น ทำให้มี 100 ภาษาที่กำลังสูญหาย และมีเพียง 12 ภาษาเท่านั้นที่เด็กๆ เรียนรู้เป็นภาษาแรก

หลังจากที่ชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ภาษาพื้นเมืองแทบจะสูญหายไปเนื่องจากนโยบายกลืนกลายวัฒนธรรมและการบังคับแยกเด็กๆ ออกจากครอบครัวและชุมชนพื้นเมือง

หลายคนถูกปฏิเสธสิทธิในการพูดภาษาของตนเอง แต่ก็มีการพูดกันอย่างลับๆ และส่งต่อไปยังคนรุ่นหลังอย่างเงียบๆ

ลีโอโนรา อาดิดี นักภาษาศาสตร์ ล่าม และนักแปลจากหมู่เกาะช่องแคบทอร์เรส โดยชาวเกาะช่องแคบตอร์เรสเป็นกลุ่มวัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากชาวอะบอริจิน และแม้แต่ในกลุ่มนี้ พวกเขาก็ยังพูด 2 ภาษาที่แตกต่างกันและมีสำเนียงประมาณ 6 สำเนียง

ดังที่กิบบ์อธิบายว่าภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองกำลังหลับใหล
เราเรียกภาษาที่ไม่ได้พูดมาสักระยะหนึ่งว่า ‘หลับใหล’ ไม่ได้ตายหรือสูญพันธุ์ไป เพราะว่าสิ่งที่หลับใหลอยู่สามารถปลุกให้ตื่นขึ้นได้อีกครั้ง
อาดิดี นักภาษาศาสตร์กล่าว
ชาวออสเตรเลียหลายคนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการฟื้นฟูและส่งเสริมภาษาของชนพื้นเมือง ตัวอย่างเช่น การใช้คำท้องถิ่นเป็นชื่อสถานที่ ซึ่งมีมากขึ้นเรื่อยๆ

แต่การฟื้นฟูภาษาของชนพื้นเมืองนั้นมีความซับซ้อน อาดีดีกล่าวว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะความหลากหลายของภาษา

“มีภาษาอยู่มากมายเหลือเกิน เราไม่ใช่สังคมที่มีภาษาเดียว ในแง่ของการสนับสนุนและการมีเครื่องมือระดับประเทศเพื่อมีโครงการระดับประเทศในการฟื้นฟูภาษาเหล่านั้นอย่างมีประสิทธิผล เราเผชิญความท้าทายมากกว่าเมื่อเทียบกับกรณีอื่นที่มีความเป็นเนื้อเดียวกันและพูดภาษาเดียว”
2024 Paper and Talk Participants, AIATSIS, and Living Languages. Photo AIATSIS.jpg
ผู้เข้าร่วมโครงการ Paper and Talk, AIATSIS, และ Living Languages ปี 2024 Credit: AIATSIS
AIATIS เป็นที่เก็บต้นฉบับ วารสาร และบันทึกเสียงจากนักสำรวจชาวยุโรปยุคแรกๆ ที่เคยพบปะกับชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส

แหล่งข้อมูลนี้ถูกนำมาใช้ในการฟื้นฟูภาษากับชุมชน

AIATSIS ยังให้ทุนสนับสนุนการตีพิมพ์ในกว่า 20 ภาษาด้วย

อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูภาษาขึ้นมาใหม่ไม่ได้มีแค่คำศัพท์ในหนังสือเท่านั้น คำศัพท์เหล่านี้ต้องถูกนำมาสอนให้แก่เยาวชนด้วย

และหลานชายของทรินดัลจะเข้าเรียนที่โรงเรียนฟรีดอม สคูล กุมเบงี กีนาน่าโรงเรียนสองภาษาสำหรับชนพื้นเมืองแห่งแรกในรัฐนิวเซาท์เวลส์

“มันไม่ใช่แค่เรื่องของการเรียนรู้ชื่อของปลาโลมาหรือปลาวาฬเท่านั้น สิ่งที่พวกเขาจะเรียนรู้ก็คือ หากพวกเขาไปทัศนศึกษา พวกเขาจะเข้าใจเส้นทางแห่งความฝัน พวกเขาจะเข้าใจเรื่องราวของการสร้างสรรค์ พวกเขาจะเข้าใจว่าปลาโลมาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเรื่องราวที่เชื่อมโยงพวกเขากลับไปยังสถานที่ที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งและตัวตนของพวกเขาด้วย”
Warlpiri Dictionary_AIATSIS.jpg
พจนานุกรมภาษาชนพื้นเมือง
นอกจากนี้นักแปลและล่ามที่มีทักษะยังมีความสำคัญต่อการสนับสนุนและฟื้นฟูภาษาพื้นเมืองอีกด้วย

ลาวิเนีย เฮฟเฟอร์แนนเป็นนักแปลและล่ามชาวปินตูปี-ลูริตจาที่ทำงานร่วมกับโครงการล่ามภาษาพื้นเมืองของนาติ (NAATI องค์กรรับรองล่ามและนักแปลระดับประเทศ)

“เราทำงานกับผู้คนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแรก และบางครั้งภาษาอังกฤษอาจเป็นภาษาที่ 5 หรือ 6 ของพวกเขา ปัจจุบันมีล่ามชาวอะบอริจินและชาวช่องแคบทอร์เรสที่ได้รับการรับรอง 96 คนสำหรับ 27 ภาษา”

อย่างไรก็ตามภาษาพื้นเมืองในออสเตรเลียกำลังฟื้นคืนชีพอีกครั้ง

ในปี 2017 กฎหมายเพื่อปกป้องภาษาพื้นเมืองฉบับแรกผ่านรัฐสภา ส่งผลให้มีพระราชบัญญัติรับรองภาษาพื้นเมืองอย่างเป็นทางการว่าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของนิวเซาท์เวลส์ และชนพื้นเมืองเป็นผู้ดูแลภาษาเหล่านี้

กิบบ์กล่าวชุมชนพื้นเมืองกำลังฟื้นฟูภาษาของพวกเขาและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกกำลังเกิดขึ้น

“ผลการสำรวจภาษาพื้นเมืองแห่งชาติระบุว่าชุมชนมากกว่า 31 แห่งกำลังปลุกภาษาของพวกเขาให้ตื่นขึ้นอีกครั้ง ภาษาที่ฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีกครั้งคือภาษาที่มีผู้พูดเพิ่มมากขึ้นหลังจากไม่ได้พูดมาเป็นระยะหนึ่ง”
A classroon at The Gumbaynggirr Giingana Freedom School in New South Wales (NSW).
ห้องเรียนที่โรงเรียนฟรีดอม สคูล กุมเบงี กีนาน่า Credit: SUSAN

Australia Explained เป็นพอดคาสต์ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการปรับตัวให้เข้ากับชีวิตใหม่ในออสเตรเลีย

คุณสามารถส่งคำถามหรือไอเดียหัวข้อที่น่าสนใจมาได้ที่

ติดตามเอสบีเอส ไทย ได้อีกทาง | |

Share