พัฒนาเมืองให้ตอบโจทย์วิถีชีวิตแบบยั่งยืนด้วยการใช้ดาต้า

Thai_Footpath_AI_1.png

แมน ธนพล ลีลาสถาพรกิจ และรองศาสตราจารย์มีอาด ซาเบอริ (Associate Professor Meead Saberi) สองกำลังสำคัญในการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้ทางเท้าของผู้อยู่อาศัยในนครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย

แมน ธนพล ลีลาสถาพรกิจ คนไทยในซิดนีย์ที่ชวนมาพูดคุยถึงการใช้ดาต้าในการออกแบบผังเมืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงความใส่ใจของรัฐบาลออสเตรเลียในการพัฒนาเมืองให้เดินไปข้างหน้าพร้อมกับไลฟ์สไตล์ของคน


ฟังพอดคาสต์ในเรื่องอื่นๆ ของเราได้ที่นี่:  

แมน ธนพล ลีลาสถาพรกิจ คนไทยในซิดนีย์ที่ได้นำเอาประสบการณ์ด้านวิศวกรรมและทักษะความสามารถในการใช้ดาต้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่องานออกแบบผังเมืองร่วมกับรัฐบาลออสเตรเลียที่คำนึงถึงไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยเป็นหลักสำคัญในการทำงาน

โดยแมน ธนพล ได้ทำโปรเจ็คเพื่อรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้ทางเท้าทั่วรัฐนิว เซาท์ เวลส์ กว่า 60 พื้นที่เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนในการพัฒนาผังเมืองให้เข้ากับรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในแต่ละพื้นที่

ความสำคัญของดาต้าเพื่อการออกแบบผังเมือง

โมเดลการทำงานของเรานั้นจะมาจากข้อมูลสิ่งปลูกสร้างพื้นฐานในแต่ละพื้นที่ที่มีทางเท้า เช่น ตำแหน่งของฟุตบาท สภาพและความกว้างของฟุตบาท รายละเอียดของสิ่งปลูกสร้างและร่มเงาของต้นไม้อย่างไร ทางลาดที่เหมาะกับคนใช้วีลแชร์หรือผู้สูงอายุในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น
Thai_Footpath_AI_2.jpeg

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองในซิดนีย์

ด้วยความผูกพันกับซิดนีย์เพราะได้มาใช้ชีวิตในเมืองนี้ตั้งแต่ปี 2014 โดยเริ่มต้นจากการมาศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยนิว เซาท์ เวลส์ (UNSW) ที่แม้ว่าระหว่างทางจะกลับไปทำงานประจำเป็นวิศวกรน้ำท่วมในไทยอยู่สักพัก แต่ก็ได้รับโอกาสมาเรียนต่อด้วยทุนปริญญาเอกในสายด้านวิศวกรรมขนส่ง

“สมัยที่ผมได้ออสเตรเลียใหม่ ๆ นั้น ซิดนีย์มีแทรมแค่สายเดียวคือเส้นที่วิ่งไป Fish Market ผมจึงได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของไลฟ์สไตล์คนในเมืองที่ชัดเจนมากเมื่อมีแทรมสาย L2 และ L3 เปิดให้ใช้บริการ”
การปรับเปลี่ยนของเมืองสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตคนเมืองได้จริง ๆ ทั้งบรรยากาศในเมืองหรือสถานธุรกิจที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่
แมนกล่าว
Thai_Footpath_AI_3
ตัวอย่างการใช้งานโมเดลข้อมูลของ Footpath AI ของพื้นที่จาก Westmead ถึง Tamworth ในรัฐนิว เซาท์ เวลส์
Thai_Footpath_AI_4
ตัวอย่างการใช้งานโมเดลข้อมูลของ Footpath AI ของพื้นที่จาก Westmead ถึง Tamworth ในรัฐนิว เซาท์ เวลส์
จุดเริ่มต้นเริ่มจากช่วงที่กำลังเรียนป. เอก และเริ่มได้ทำโปรเจคใหม่ ๆ ร่วมกับรองศาสตราจารย์มีอาด ซาเบอริ (Associate Professor Meead Saberi) จนได้มาก่อตั้งบริษัทนี้ด้วยกันช่วงตอนเราอยู่ปีสามหรือปี 2021

ความฝันที่จับต้องได้

งานออกแบบเมืองนั้นมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาเพื่อตอบรับกับไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัย
แมนกล่าว
ช่วงที่เราเป็นวิศวกรน้ำท่วมที่ไทย เราได้เรียนรู้ว่าโปรเจคป้องกันน้ำท่วม (Flood protection) มักจะสร้างเพื่อสร้างให้เกิดความปลอดภัยในระดับที่พอแก้ปัญหาได้เท่านั้น มันต่างจากการสร้างเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของงานออกแบบเมือง อีกทั้งงานป้องกันน้ำท่วมมักจะใช้เวลานานในการพัฒนา กว่าที่งานของเราในกระดาษจะออกมาให้ใช้งานได้จริงนั้น อาจใช้เวลาเป็นสิบปี

"เราเลยตัดสินใจเปลี่ยนสายมาเป็นวิศวะด้านการขนส่งสาธารณะ เพราะเราพบว่าสิ่งที่เราลงมือทำมันออกมาเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้คนใช้งานได้จริง”
Fotopath_AI_5.JPG
แมน ธนพล และการเดินทางเพื่อให้ความรู้และแบ่งปันเรื่องความสำคัญของการใช้ดาต้าในการวิเคราะห์และต่อยอดเพื่อการพัฒนาเมืองซิดนีย์ Credit: Supplied

เข้าใจวิถีชีวิตคนผ่านดาต้า

ขอยกตัวอย่างเป็นสองโปรเจคที่ผมเคยทำก่อนจะมาเป็นบริษัทในปัจจุบัน

หนึ่งคือโมเดลการเก็บข้อมูลผู้โดยสารในสนามบิน เช่น ใครอยู่ตรงไหนภายในสนามบิน และโฟลวของการใช้พื้นที่แต่ละช่วงของวัน เป็นต้น โดยเราได้รวบรวมข้อมูลและทำออกมาทำเป็นโมเดล ก่อนจะขายให้กับบริษัท Mitsubishi Heavy Industry เมื่อปี 2020 โดยเค้าได้เอาไปจดสิทธิบัตรที่อเมริกาต่อในภายหลัง

ส่วนอีกโปรเจคเป็นการร่วมมือกับ คือการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้ฟุตบาทให้กับเมืองซิดนีย์และทำออกมาเป็นรีพอร์ตคำแนะนำการพัฒนาทางเท้าในเมือง เช่น ควรจะสร้างทางตัดจักรยานหรือควรทำทางเท้าเพิ่มเติมตรงไหน ซึ่งจากโปรเจคนี้ที่เราได้เริ่มทำตั้งแต่เรียนปริญญาเอก เราจึงพบว่าข้อมูลพวกนี้เป็นที่ต้องการเพื่อใช้ในการพัฒนาเมืองในอนาคต จึงนำมาต่อยอดและตัดสินใจตั้งเป็นบริษัท Footpath AI ในภายหลัง
Footpath_AI_6

รัฐบาลที่ใส่ใจประชาชน

ช่วงปลายปี 2021 ทางรัฐได้แต่งตั้งร็อบ สโตคส์ (Rob Stokes) เป็นรัฐมนตรีเพื่อโครงสร้างพื้นฐานและการเดินทางด้วยกำลังกาย (NSW Minister for Infrastructure, Cities and Active Transport) ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการทำโปรเจคของเรา โชคดีที่มีโอกาสได้คุยกับทางรัฐและเค้าสนใจงานของเราพอดี เลยเรียกได้ว่าสิ่งที่เราทำมันจังหวะตรงกันกับแผนการทำงานของรัฐด้วย
รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาเมืองโดยเน้นการเดินเท้าและปั่นจักรยาน นี่จึงเป็นเหตุผลให้ผมอยู่ต่อเพื่อใช้ความรู้ที่มีหลังเรียนจบ เพราะเราอยากมีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงนี้
แมนกล่าว
LISTEN TO
Footpath AI interview podcast  image

แมน​ ธนพล และมีอาด ซาเบอริ สองหัวเรือใหญ่ในการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้ทางเท้าของคนเมืองในซิดนีย์

SBS Thai

12/03/202524:39
ติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่ หรือ และ



Share